การจัดแผ่นป้าย......แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปแบบหลายลักษณะแตกต่างกัน
1.ประเภทของแผ่นป้าย
___ การจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่ ไม้ พลาสติก โลหะ
___ การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่ ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ และป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้
___ การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ แบบสำเร็จรูป และแบบถอดประกอบ
___ การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง ได้แก่ แบบตั้งแสดง แบบแขวน แบบติดฝาผนัง
2.เทคนิคการจัดแผ่นป้าย
___แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร
___แผ่นป้ายอิสระ
___แผ่นป้ายสามเหลี่ยมรูปตัวเอ
___แผ่นป้ายแบบแขวน
___แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส (S)
___แผ่นป้ายแบบกำแพง
___แผ่นป้ายสำหรับจัดร้านขายสินค้า
___แผ่นป้ายตั้งแสดง
___แผ่นป้ายผืนธง
3. การจัดป้ายนิเทศ......ป้ายนิเทศ (bulletin board) เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากทั้งในวงการศึกษา วงการธุรกิจ วงการเมือง
......ซินแคลร์ (Sinclair, 1994, p.182) กล่าวว่า ป้ายนิเทศหรือ Bulletin Board เป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมีความหมายเดียวกับคำว่า Notice board ซึ่งมีความหมายว่าแผ่นกระดาน ปกติติดตั้งไว้กับฝาผนัง หรือสถานที่จัดแสดงด้วยป้าย
......ป้ายนิเทศ เป็นทัศนวัสดุที่ใช้สำหรับแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งอาจใช้รูปภาพแผนภูมิหรือวัสดุสามมิติ ฯลฯ
4. คุณค่าของป้ายนิเทศ
......ใช้ในการจัดแสดงแจ้งข่าวสารผู้ชมสามารถศึกษาเนื้อหาได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกตามความพอใจ ช่วยประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อ ความหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้
.หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
4.1หลักการจัดป้ายนิเทศ
_________การกระตุ้นความสนใจ
_________การมีส่วนร่วม
_________การตรึงความสนใจ
_________ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
_________การเน้น
_________การใช้สี
4.2 เทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
_________ชื่อเรื่อง จะต้องสั้น อ่านง่าย เด่นชัด สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลดึงดูดความสนใจได้ทันที
_________ข้อความเชิญชวนหรือคำอธิบาย ควรมีลักษณะกระทัดรัด สั้นอ่านง่ายได้ใจความชัดเจน จัดช่องไฟได้เหมาะสม
_________การสร้างมิติเพื่อการรับรู้
_________การใช้สี แสง เงา
_________การเคลื่อนไหว
_________การใช้รูปภาพ
_________การจัดองค์ประกอบ
_________การตกแต่งพื้นป้ายนิเทศ
_________การจัดป้ายนิเทศร่วมกับสื่ออื่นจะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหาสมบูรณ์และน่าสนใจยิ่งขึ้น
_________การใช้เนื้อหาหรือกิจกรรมเป็นตัวกำหนด
การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
1.1 การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ ภาพแบบหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ (window) เป็นการจัดเพื่อเน้นรายละเอียดด้วยรูปภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว
1.2 การจัดภาพแบบละครสัตว์ การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus) เป็นการจัดภาพที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆ
1.3 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (axial) เป็นการจัดภาพที่มีรูปภาพอยู่ตรงกลางและมีคำอธิบายกำกับทั้งด้านซ้ายและด้านขวาหรือโดยรอบ
1.4 การจัดภาพแบบกรอบภาพ การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame) เป็นการจัดโดยนำภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวางเรียงต่อเนื่องกันล้อมรอบเนื้อหาข้อความ 1.5 การจัดภาพแบบตาราง การจัดภาพแบบตาราง (grid) เป็นการจัดภาพไว้ในตารางซึ่งอาจเว้นช่องใดช่องหนึ่งหรืออาจขยายภาพใดภาพหนึ่งเพื่อให้เกิดจังหวะระหว่างรูปภาพทำให้ดูแปลกตา
1.6 การจัดภาพแบบแถบ การจัดภาพแบบแถบ (band) เป็นการจัดรูปภาพและเนื้อหาที่เรียงตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ขั้นต้นถึงขั้นสุดท้าย แสดงให้เป็นลำดับขั้น1.7 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (path) เป็นการจัดให้รูปภาพหรือเหตุการณ์เรียงกันอย่างต่อเนื่องไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งซึ่งอาจคดเคี้ยวโค้งงอไปตามจังหวะที่สวยงาม
ลักษณะของบริเวณว่าง
......บริเวณว่างมี 2 ลักษณะได้แก่ บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์ (positive space) และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย (negative space)
1. การออกแบบบริเวณว่าง
1.1 การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง องค์ประกอบแนวตั้ง
1.2การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้ง องค์ประกอบระนาบแนวตั้ง มีลักษณะแผนกั้นเป็นฉากหลังของพื้นที่ระนาบแนวตั้ง (linear vertical plane) 1.3 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล (L) องค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล หรือระนาบมุมฉาก (L-shaped planes)
1.4 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน องค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน หรือระนาบคู่ขนาน (parallel planes)
1.5 การจัดองค์ประกอบระนาบรูปตัวยู องค์ประกอบระนาบรูปตัวยู (U) เป็นระนาบปิดล้อมสามด้าน (U-shaped planes)
การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยา
......การใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรมควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชม โดยเฉพาะลูกค้าใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรยึดหลักสำคัญคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใด ๆ ทุกชนิด.การกำหนดทางเดินชมนิทรรศการ1. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ด้านเดียว
2. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ 2 ด้าน
3. การสัญจรอย่างอิสระตามความต้องการ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น