วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการ



ความหมายของการจัดนิทรรศการ

ธีรศักดิ์ อัครบวร ( ธีรศักดิ์ อัครบวร , 2537 , หน้า 75) อธิบายว่าโดยสำนึกและความรู้สึกในสังคมไทยเมื่อกล่าวถึงการจัดแสดงแล้ว จะให้ความคิดไปในเรื่องของนันทนาการ งานรื่นเริง หรืองานสวนสนุกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นความหมายของ Display จึงตรงกับศัพท์ในภาษาไทยว่า “จุลนิทัศน์” มากกว่า

จุลนิทัศน์ มาจากคำว่า จุล กับ นิทัศน์ พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546, หน้า391, 588, 1384) อธิบายว่า
______จุล (ว.) เล็ก น้อย ใช้นำหน้าคำสมาส
______นิทัศน์ (น.) ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นอุทาหรณ์
______อุทาหรณ์ (น.) ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็น สิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่าง
______ดังนั้นจุลนิทัศน์ หรือ การจัดแสดง จึงแปลว่าตัวอย่าที่นำมาจัดแสดงให้เห็นเพียงเล็กน้อย

สรุปได้ว่าการจัดแสดงหมายถึง นิทัศน์การขนาดเล็กมากที่นำเสนอข้อมูล วัตถุสิ่งของผลงาน สินค้า หรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่างในสถานที่ที่มีการตกแต่งไว้อย่างสวยงามและเหมาะสม โดยเน้นเป็นพิเศษเพื่อเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ความหมายของนิทรรศการ

ในประเทศไทยกิจกรรมการจัดนิทรรศการได้จัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่6 ) ในขณะนั้นยังใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า exhibition ครั้งที่ 1 (ธีรศักดิ์ อัครบวร, 2537, หน้า7)นิทรรศการหมายถึงการจัดแสดงข้อมูลเนื้อหาผลงานต่างๆ ด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดู การฟัง การสังเกต การจับต้อง และการทดลองด้วยสื่อที่หลากหลาย เช่นรูปภาพ ของจริง หุ่นจำลอง ป้ายนิเทศ และกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวด การแข่งขัน การบรรยาย การสาธิต การอภิปราย และการตอบคำถาม เป็นต้น

ประวัติของการจัดแสดง

1. ที่มาของความคิดในการจัดแสดงการจัดแสดงมีมาตั้งแต่ยุคก่อน เมื่อมนุษย์เริ่มจะรู้จักการแต่งตัว อาจเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อื่นหรือทำตัวเองให้เด่นขึ้น ต่อมาก็เป็นการแต่งกายเพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าตนคือหัวหน้าเผ่า หรือหมอผีประจำเผ่า นับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดจุลนิทัศน์

2. การจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า สมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยไว้บนศิลาจารึกมีลักษณะแท่ง 4 เหลี่ยม มีอักษรทั้ง 4 ด้านเมื่อ พ.ศ. 1826 ทรงทำสิลาจารึกพระกรณียกิจเรื่องราวต่างๆ ไว้ อันมีประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์

ประวัติของนิทรรศการ

1. จุดเริ่มต้นของนิทรรศการจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เป็นภาพเขียนจำนวนมากในถ้ำ ( Lascause ) และถ้ำ ( Altamila ) ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ทางเหนือของประเทศเสปน นักโบราณคดีระบุว่าเป็นราว15000 - 10000 ปี ก่อนคริสตศักราชเป็นฝีมือของมนุษย์เผ่าโครมันยอง

2. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคโบราณในสมัยโบราณมีการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ลักษณะการจัดเทศกาลแสดงสินค้ากรอเลีย ได้อธิบายคำศัพท์การจัดเทศกาลแสดงสินค้าซึ่งประมวลได้คำว่า fair จึงมีการจัดแสดงนิทรรศการมาตั้งแต่ยุคโบราณเช่น ประเทศอียิปต์ได้จัดสร้างตลาดเพื่อซื้อขายสินค้าที่สุสาน ชาวกรีกจัดแสดงสินค้าและเทศการสรรเสริญพระเจ้าที่เมืองเดลฟี่ ที่อาณาจักรโรมันมีการจัดเทศกาลสินค้ากับฤดุกาลเก็บเกี่ยวกับการเกษตร เป็นต้น

3. การจัดเทศกาลแสดงสินค้ายุคกลางและยุคหลังในยุคกลางผู้คนเริ่มสนใจการจัดนิทรรศการมากขึ้น หลังจากการปกครองของอาณาจักรโรมัน การแสดงสินค้าเป็นการพบปะกันของหลายปะเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม รัสเซีย และเยอรมัน

4. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศอังกฤษราวคริตศ์ศตวรรษที่ 12 การจัดแสดงสินค้าครั้งแรกที่เมืองเวสต์ สวิธฟิลด์ ในกรุงลอนดอนงานแสดงสินค้ามีชื่อว่า บาร์โธโลมิวแฟร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรวมพิธีการทางศาสนา

5. การจัดแสดงสินค้าในประเทศรัสเซียจัดขึ้นที่เมือง นิชชิ นอร์ดกโรด์เป็นเมืองที่มีการแสดงสินค้าของสินค้าจากแดนไกล ได้แก่ กาแฟจากเมืองจีน พรมจากประเทศเปอร์เซียและญี่ปุ่น โดยมีชื่องานว่า รัสเซียนแฟร์

6. การจัดแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันการจัดแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันเริ่มขึ้นที่เมือง ลิปซิง จนกลายเป็นงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก แสดงสินค้าประเภทหนังสือ ขนสัตว์ มีผู้ซื้อสินค้ามาจากประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป

7. การจัดแสดงสินค้าในประเทศอเมริกาเกือบ 300 ปีที่แล้ว ได้มีการจัดแสดงสินค้าที่เมือง นิวเจอร์ซี่ ถึง 2 ครั้ง ต่อจากนั้นมีการจัดขึ้นอีกหลายครั้ง จนกระทั้งปี ค.ศ. 1810 เอลกานาห์ วัตสัน ซึ่งใด้นำเอาสุกรสีดำเต้มขาว ที่หน้า ที่เท้า ที่หางในเมืองพิทซ์ฟิลด์และเมืองแมสซาจูเสทส์ จนกลายเป็นงานประจำปีไปอย่างแพร่หลายทั่วสหรัฐอเมริกา

8. การจัดแสดงสินค้าสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 19 โรงงานต่าง ๆ ที่ผลิตสินค้าจำนวนมากมาย การสื่อสารการขนส่งสินค้าที่ดีขึ้น มีการจัดแสดงสินค้าเฉพาะสินค้าตัวอย่างเท่านั้นมีการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่จะเห็นความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะและสถาปัคยกรรมจากทั่วโลกนิยมเรียกว่า มหกรรมงานมหกรรมครั้งแรกจัดขึ้นที่ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1851



วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 2 ลักษณะของนิทรรศการ

......การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์เป็นการจัดนิทรรศการขนาดเล็กการจัดจุลนิทัศน์มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีพื้นที่ขนาดเล็ก อุปกรณ์น้อยชิ้นใช้พื้นที่น้อย เนื้อหามีเรื้องเดียว เมื่อนำจุลนิทัศน์มารวมกันเป็นนิทรรศการ ดึงดูดสายตาคนที่ผ่านไปผ่านมา เร้าความสนใจได้ดี ก่อให้เกิดความปารถนาที่จะเป็นเจ้าของ โน้มน้าวให้คนเชื่อมั่นที่จะซื้อสินค้า กระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อ ทำให้เกิดความพอใจและประทับใจนิทรรศการทั่วไปแบ่งเป็น 4 ขนาดตามพื้นที่ๆ จัดแสดง

1. นิทรรศการขนาดเล็ก มีพื้นที่น้อยกว่า 37ตารางเมตร
2. นิทรรศการขนาดกลาง มีพื้นที่ตั้งแต่ 38 – 148 ตารางเมตร
3. นิทรรศการขนาดใหญ่ มีพื้นที่ตั้งแต่ 149 - 371ตารางเมตร
4. นิทรรศการขนาดยักษ์ มีพื้นที่มากว่า 371ตารางเมตรขึ้นไปการจัดนิทรรศการมีลักษณะสำคัญดังนี้ มักจัดในโอกาสพิเศษ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย

มหกรรม

เป็นนิทรรศการขนาดใหญ่โตมโหฬารมีลักษณะสำคัญดังนี้ ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มาก ใช้งบประมาณมาก กลุ่มเป้าหมายเป็นคนจากทั่วโลก แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


นิทรรศการเพื่อการศึกษา

เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนโดยมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ ทำให้ผู้ชมได้ความรู้เป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีทางการศึกษา จัดได้ทั้งในห้องเรียน ในโรงเรียน นอกโรงเรียน ที่ชุมชน จัดได้ทั้ง นิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการเคลื่อนที่ และนิทรรศการถาวร จัดขึ้นที่องค์กรต่างๆ ให้ความรู้ได้อย่างดี เช่น พิพิธภัณฑสถานประจำจังหวัด โรงพยาบาล องค์การบริการส่วนตำบล เป็นต้น

นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์

นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์เน้นเพื่อการสร้างความสำพันธ์ระหว่างประชาชนกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีการรวบรวมข้อเท็จจริง ให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนเชื่อถือได้ จัดตามเทศกาลต่างๆ มีรูปแบบที่หลากหลายแปลกใหม่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเช่น การตอบปัญญา การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น

นิทรรศการเพื่อการค้า

นิทรรศการเพื่อการค้าจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายสินค้ามีลักษณะสำคัญดังนี้ เพื่อขายสินค้า โดยเน้นโฆษณาประชาสัมพันธ์ จัดโดยนักธุรกิจภาคเอกชน มีรูปแบบนิเทศการถาวร เพื่อจะจัดขายได้ระยะเวลานาน เน้นสื่อโฆษณา มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายเช่น ของตัวอย่าง ของแถม และคูปอง เป็นต้น

นิทรรศการถาวร

เป็นการจัดนิทรรศการที่สมบูรณ์แบบที่สุดเพราะต้องใช้การเตรียมทำข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะต้องจัดอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ จัดที่ใดที่หนึ่งเป็นระยะเวลานาน มีการลงทุนสูง วัสดุที่ใช้จัดมีความคงทน มีการออกแบบอย่างพิถีพิถัน การทำงานมีระบบแบบแผน เป็นการจัดวิถีชีวิตในชุมชนเป็นส่วนใหญ่สืบทอดมาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะจัดในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ เรื่องราวที่จัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์วรรณกรรม เป็นต้นิทรรศการชั่วคราวเป็นการจัดนิทรรศการแบบชั่วคราวมักจัดตามเทศกาลต่างๆ ใช้เวลาจัดประมาณ 2 – 10 วัน มีลักษณะที่สำคัญต่อไปนี้จัดระยะสั่นเป็นครั้งเป็นคราว ตามเทศกาลต่างๆ เนื้อหาเน้นเรื่องราวใหม่ๆ สื่อที่ใช้จัดเป็นแบบชั่วคราวเป็นทั้งสื่อประเภทวัสดุและกิจกรรม

นิทรรศการเคลื่อนที่

นิทรรศการเคลื่อนที่จะเข้าถึงพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อความสะดวกเป็นการบริการทางการศึกษา มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จะจัดไว้เป็นชุดๆ หลายชุด เนื้อหาจะเน้นตอบสนองกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ต้องอาศัยยานพาหนะเป็นหลัก สื่อที่ใช้มีจำนวนน้อยไม่มากชิ้นนัก

นิทรรศการในอาคาร

เป็นการจัดนิทรรศการในร่ม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จัดขึ้นในที่ร่มสามารถกันแดดกันฝนได้ เนื้อหามีไม่มากนักสามาร๔จัดในพื้นที่แคบได้ เนื้อหามีความต่อเนื่องปราศจากสิ่งรบกวน มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่างดี มีการควบคุมแสงเพื่อเน้นจุดสนใจ วัสดุที่จัดเป็นทั้งแบบชั่วคราวและถาวร สามารถควบคุมบรรยากาศในห้องเรียนได้

นิทรรศการกลางแจ้ง

จัดในพื้นที่กว้างจัดได้ในบริเวณกว้าง มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จัดนอกอาคาร จัดได้ทั้งแบบถาวรและชั่วคราว เนื้อหาเน้นสอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น เกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุงานเกษตรกรรม เป็นต้น

นิทรรศการกึ่งกลางแจ้ง

จัดทั้งกลางแจ้งและในร่ม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ นิทรรศการจัดได้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร จัดได้ทั้งถาวรและชั่วคราว จัดเนื้อหาที่หลากหลายได้เพราะจัดทั้งในอาคารและนอกอาคาร มีสื่อที่หลากหลายอาจเป็นหุ่นจำลองหรือของจริงก็ได้ สามารถออกแบตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดได้ เช่น นิทรรศการเพื่อการค้า นิทรรศการเพื่อการศึกษา นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

บทที่ 3 หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ

โดยทั่วไปธรรมชาติของมนุษย์มีการรับรู้ที่ต่างกัน บางคนรับรู้ได้ดีจากภาพ บางคนรับรู้ได้ดีด้วยเสียง บางคนรับรู้ได้ดีด้วยตัวหนังสือ บางคนก็รับรู้ได้ดีด้วยของจริง เป็นต้น เราจึงต้องรู้หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
การรับรู้......คือ การสัมผัสที่มีความหมายอันเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา – การมองเห็น หู – ได้ยินเสียง จมูก – การรับกลิ่น ปาก – การรับรส ร่ายกาย – ความรู้สึก เราจะต้องรู้ว่าสิ่งนั่นคืออะไรมาก่อน เช่น รู้ว่ารสเปี้ยวมาจากมะม่วง รู้ว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นของดอกไม้ เป็นต้น
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
______1.1 เร้าความสนใจภายนอก
1.1.1 ความเข้ม
1.1.2 ขนาด
1.1.3 ความแปลกใหม่และสิ่งที่มีลักษณะตัดกัน
1.1.4 ตำแหน่งที่ตั้ง
1.1.5 การเคลื่อนไหว
1.1.6 ความเป็นหนึ่งเดียว
1.1.7 ระยะทาง
1.1.8 ความคงทน
1.1.9 การทำซ้ำ

_____1.2 ปัจจัยที่เร้าความสนใจภายใน
1.2.1 ความตั้งใจ
1.2.2 แรงขับ
1.2.3 อารมณ์ หรือคุณภาพของจิต
1.2.4 ความสนใจ
1.2.5 สติปัญญา

2. การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฎีจิตวิทยาทษฎีของกลุ่ม เกสตอลท์ ซึ่งมีแนวคิดว่าองค์ประกอบสำคัญของภาพหรือสิ่งเร้าที่รับรู้โดยทั่วไปมี 2 ส่วน คือภาพและพื้น
2.1 หลักของความใกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่อยู่ห่างกัน
2.2 หลักของความคล้ายคลึง หมายถึง สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่าง______2.3 หลักการต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฏเห็นอย่างซ้ำๆ เหมือนกันในทิศทางเดียวกัน
2.4 หลักของความประสาน เป็นการเพิ่มสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ สิ่งผิดปรกติ หรือวัตถุที่หายไปจะกระตุ้นความสนใจใด้ดีความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความสงสัย

การเรียนรู้......คือ กระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม อันเป็นผลจากประสบการณ์ ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ เช่น รู้พิษของยา ความเหนื่อยล้า เป็นต้นประเภทของการเรียนรู้
___1. การเรียนรู้ตามความเข้าใจ
___2. การเรียนรู้ด้านเจตคติ หรือด้านอารมณ์ หรือด้านจิตใจ
___3. การเรียนรู้ด้านกล้ามเนื้อหรือประสาทสัมผัสจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์วัยต่างๆ ตั้งแต่ปฏิสนธิยันแก่ชราทำให้เรารู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์แต่ละวัยวความสนใจและความต้องการที่แตกต่างกัน
___วัยเด็กอายุ 2 – 6 ขวบ วัยนี้ชอบจำในสิ่งที่แปลกๆ
___วัยเด็กตอนกลางอายุ 7 – 12 ขวบ พอใจกับสิ่งใหม่ๆ ชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์ ชอบภาพยนตร์ ประเภทนิทาน ชอบทำอะไรอย่างอิสระ
___วัยรุ่นอายุ 13 – 19 ปี ชอบเรียนแบบ จะชอบรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ความทันสมัย วัยรุ่นจะมีความสนใจเพศตรงข้าม
___วัยผู้ใหญ่อายุ 20 – 40 ปี โดยทั่วไปสนใจกับรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ การแต่งกาย สนใจเรื่องเศรษฐกิจ และสังคม พออายุ 40 เริ่มสนใจเรื่องสุขภาพ

บทที่ 4 หลักการออกแบบนิทรรศการ

หลักการออกแบบนิทรรศการ
“การออกแบบ” เป็นกระบวนจัดองค์ประกอบในทุกสาขาวิชาให้มีลักษณะแปลกใหม่ สวยงามสื่อความหมายได้ดีและมีประโยชน์ในการใช้สอย โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเป็นหลักสำคัญในการจุดประกายความคิด.ความหมายของการออกแบบ
การออกแบบตรงกับภาษาอังกฤษว่า “design” ในภาษากรีก หมายถึง บทกวี (poetry) การออกแบบตามกฎเกณฑ์การจัดองค์ประกอบศิลป์เพื่อให้บรรลุถึงความงามอันสมบูรณ์ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของงานไม่ว่าจะเป็นบทกวี เพลง บทละคร ท่ารำ ท่าเต้น ภาพปั้น ภาพเขียน งานการแสดงต่าง ๆ หรืองานพาณิชยศิลป์
สรุปได้ว่า การออกแบบ หมายถึง ความคิดคำนึงหรือจินตนาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์โดยรวมขององค์ประกอบย่อยกับโครงสร้างของแต่ละเรื่อง ในการออกแบบเรื่องหนึ่ง ๆ นักออกแบบจะพยายามสร้างทางเลือกหลาย ๆ แบบโดยการสลับสับเปลี่ยนคุณสมบัติขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ขนาด พื้นผิว ตำแหน่ง ทิศทาง รูปร่าง รูปทรง จังหวะเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นการออกแบบจึงเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเสมอ.คุณค่าของการออกแบบ มี 3 ประการ คือ
- 1. เพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น การออกแบบเครื่องไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงานและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
- 2. เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โปสเตอร์ ป้ายโฆษณา แผ่นปลิว
- 3. เพื่อคุณค่าทางความงาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ เช่น ภาพเขียน อุนสาวรีย์ ภาพ

จุดมุ่งหมายของการออกแบบมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ ได้แก่

การออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย เป็นกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาโดยการจัดองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการด้านกายภาพ การออกแบบลักษณะนี้นักออกแบบควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- 1.1 หน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอย (function)
- 1.2 ความประหยัด (economy)
- 1.3 ความทนทาน (durability)
- 1.4 โครงสร้าง (construction)
- 1.5 ความงาม (beauty)
การออกแบบเพื่อความงามและความพอใจ เป็นการออกแบบที่นิยมใช้กับศิลปกรรมหรืองานวิจิตรศิลป์ทุกแขนงอันได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี นาฎศิลป์และวรรณกรรม ผลงานเหล่านี้เกิดจากการถ่ายทอด “ความงาม”.

บทที่ 5 ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ

ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างน้อย 4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง (media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage) และขั้นการประเมินผล (evaluation stage) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
.1.ขั้นการวางแผน

ทำอะไร หรือจะจัดกิจกรรมอะไร คณะผู้ดำเนินงานต้องระบุชื่อหรือประเภทของกิจกรรมนั้น ๆ ให้ชัดเจน เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดจุลนิทัศน์ การรณรงค์ การจัดมหกรรม การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ทำไปทำไม หรือจะจัดเพื่ออะไร เมื่อกำหนดว่าจะทำกิจกรรมอะไร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมนั้นเป็นสำคัญ เช่น การจัดจุลนิทัศน์แสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย การจัดนิทรรศการวันมาฆบูชาเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของไทย เป็นต้น
ทำที่ไหน สถานที่หรือบริเวณอยู่ที่ไหนห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การคมนาคมสะดวกมากน้อยเพียงใด
ทำเมื่อใด หรือกิจกรรมนั้นจะจัดขึ้นเมื่อใด อาจเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ วันเปิดอาคารใหม่ วันต้อนรับอาคันตุกะที่สำคัญ หรือจัดระหว่างวันเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ.
ทำเพื่อใคร หรือใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดนิทรรศการ มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ แทบทุกด้าน
ทำอย่างไรหรือจะจัดกิจกรรมอย่างไร เป็นคำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่ การลงมือปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้มีประสิทธิภาพทำได้อย่างไร
อกจากคำถามพื้นฐานสำคัญในการวางแผนทั่ว ๆ ไปดังกล่าว อาจวางแผนโดยยึดหลักการบริหาร
การวางแผนในการจัดนิทรรศการที่สำคัญได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับผู้ชม การวางแผนเกี่ยวกับเรื่องและเนื้อหา
เมื่อประมวลคำถามและแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าในขั้นการวางแผน ควรมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในเรื่องการตั้งวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรม สถานที่ เวลา งบประมาณ การออกแบบนิทรรศการ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและการประชาสัมพันธ์

1. การตั้งวัตถุประสงค์
- การจัดนิทรรศการเพื่อจำหน่ายสินค้า
- การจัดนิทรรศการเพื่อเปิดตัวและแนะนำสินค้า
- การจัดนิทรรศการทางการศึกษา
- การจัดนิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
2. กลุ่มเป้าหมาย
- เพศ
- วัย
- ระดับการศึกษา
- อาชีพ
- ความเชื่อ
- สภาพเศรษฐกิจ
- สถานภาพทางสังคม
3. เนื้อหาและกิจกรรม
- กลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชากา
- กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
- กลุ่มเป้าหมายเป็นชาวนา
- กลุ่มเป้าหมายเป็นนักธุรกิจ
4. ระยะเวลา
5. สถานที่
- ทำเลที่ตั้ง
-บริเวณขอบเขต
- งบประมาณ
- ค่าสถานที่
- ค่าไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์สำหรับแสงสว่างทั่วไป
- ค่าใช้จ่ายด้านโสตทัศนูปกรณ์
- ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสื่อในการจัดแสดง
- ค่าวัสดุประกอบการตกแต่งและติดตั้ง
- ค่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตและตกแต่ง
- ค่าจัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อมวลชนต่าง ๆ
- ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมประกอบทุกประเภท
- ค่าพาหนะขนส่งและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
- ค่าอาหาร น้ำดื่ม
- ค่าบริการทางด้านสาธารณูปโภค
- ค่าใช้จ่ายในฝ่ายพิธีการ
- ค่าใช้จ่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ปัญหา
- ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

6. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
- ฝ่ายควบคุมนิทรรศการ
- ฝ่ายศิลปกรรม
- ฝ่ายช่าง
- ฝ่ายวิชาการ
- ฝ่ายการเงิน
- ฝ่ายสถานที่
- ฝ่ายประชาสัมพันธ์
- ฝ่ายประเมินผล
- ฝ่ายพิธีการ
- ฝ่ายประสานงาน

.2. ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง

2.1 การออกแบบในงานนิทรรศการ การออกแบบเป็นหัวใจสำคัญในการจัดนิทรรศการ ช่วยให้งานดูโดดเด่นกระตุ้นความสนใจ
- การออกแบบโครงสร้าง ได้แก่โครงสร้างทางกายภาพของงานนิทรรศการทั้งหมด ซึ่งได้แก่โครงสร้างของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดงและสิ่งก่อสร้างต่างๆ
- การออกแบบตกแต่ง เป็นการออกแบบเพื่อทำให้งานนิทรรศการมีความโดดเด่น สวยงาม ดึงดูดความสนใจ และสื่อความหมายกับผู้ชม
- การออกแบบสื่อ 2 มิติ เป็นสื่อประเภทงานกราฟิกที่ใช้ในการเสนอเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้โดยตรง
- การออกแบบสื่อ 3 มิติเป็นการสร้างสรรค์สื่อที่มีทั้งความกว้างความยาวและความหนา
- การออกแบบสื่อประสมหรือสื่อมัลติมีเดีย ปัจจุบันการออกแบบและการนำเสนอผลงานทำได้สะดวกรวดเร็วโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
- การออกแบบสื่อกิจกรรม เป็นสื่อการแสดงที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือบุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และการนำเสนอ
2.2 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก เช่น อุปกรณ์หลักในการจัดสถานที่ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์เกี่ยวกับแสงเสียงและไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เพื่อการแสดงและตกแต่ง โสตทัศนวัสดุ
2.3 การลงมือติดตั้งสื่อต่าง ๆ เป็นขั้นจัดวางสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นไปตามผังที่ออกแบบไว้แล้ว การดำเนินงานในขั้นนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างเทคนิคด้านโสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
2.4 การควบคุมดูแลความปลอดภัย เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ชมได้รับอันตรายใด ๆ จากการเข้าชมนิทรรศการ

.3. ขั้นการนำเสนอ

ในขั้นนี้เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ โดยทั่วไปประกอบด้วย พิธีเปิดนิทรรศการ การนำชม ดำเนินกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นต้น
1.1 พิธีเปิดนิทรรศการ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมในพิธีเปิด คือ เครื่องขยายเสียงคุณภาพดี แท่นยืนสำหรับประธาน คำกล่าวรายงานของผู้รายงาน และคำกล่าวเปิดงานสำหรับประธานในพิธี หากเป็นไปได้คำกล่าวเปิดงานควรเสนอต่อประธานเพื่ออ่านก่อนถึงพิธีเปิดจะเป็นผลดียิ่ง
1.2 การนำชมและดำเนินกิจกรรม หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้นลง คณะผู้จัดนิทรรศการนำประธานและผู้เข้าชมเดินชมนิทรรศการตามจุดสำคัญ ๆ ของงาน แต่ละจุดมีพิธีกรบรรยายถ่ายทอดความรู้ที่จัดแสดง ตลอดจนให้คำแนะนำหรือตอบคำถามจากผู้ชม
1.3 การประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชมในการเข้าชมนิทรรศการด้วยสื่อหลายชนิด เช่น ป้ายผังรวมของงานหรือแผ่นปลิวบอกตำแหน่งที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน

.4. ขั้นการประเมินผล

การประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานแต่ละครั้ง
- 1.1 การประเมินภายในจากกลุ่มผู้จัด
- 1.2 การประเมินจากกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย.แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี
1. เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
2. เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่ง ๆ ควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหา ความรู้ ความคิด และองค์ประกอบทางกายภาพ
3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
4. ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงามเหมาะสมกับเนื้อหา
5. การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและสื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียมมานานกลายเป็นนิทรรศการ “ตาย”
8. สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภท
9. วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติสอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหา
10. สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม
11. สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่น
12. แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟ ก็ได้

บทที่ 6 เทคนิคการจัดนิทรรศการ

การจัดแผ่นป้าย......แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปแบบหลายลักษณะแตกต่างกัน

1.ประเภทของแผ่นป้าย
___ การจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่ ไม้ พลาสติก โลหะ
___ การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่ ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ และป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้
___ การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ แบบสำเร็จรูป และแบบถอดประกอบ
___ การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง ได้แก่ แบบตั้งแสดง แบบแขวน แบบติดฝาผนัง

2.เทคนิคการจัดแผ่นป้าย
___แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร
___แผ่นป้ายอิสระ
___แผ่นป้ายสามเหลี่ยมรูปตัวเอ
___แผ่นป้ายแบบแขวน
___แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส (S)
___แผ่นป้ายแบบกำแพง
___แผ่นป้ายสำหรับจัดร้านขายสินค้า
___แผ่นป้ายตั้งแสดง
___แผ่นป้ายผืนธง

3. การจัดป้ายนิเทศ......ป้ายนิเทศ (bulletin board) เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากทั้งในวงการศึกษา วงการธุรกิจ วงการเมือง
......ซินแคลร์ (Sinclair, 1994, p.182) กล่าวว่า ป้ายนิเทศหรือ Bulletin Board เป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมีความหมายเดียวกับคำว่า Notice board ซึ่งมีความหมายว่าแผ่นกระดาน ปกติติดตั้งไว้กับฝาผนัง หรือสถานที่จัดแสดงด้วยป้าย
......ป้ายนิเทศ เป็นทัศนวัสดุที่ใช้สำหรับแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งอาจใช้รูปภาพแผนภูมิหรือวัสดุสามมิติ ฯลฯ

4. คุณค่าของป้ายนิเทศ
......ใช้ในการจัดแสดงแจ้งข่าวสารผู้ชมสามารถศึกษาเนื้อหาได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกตามความพอใจ ช่วยประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อ ความหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้
.หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
4.1หลักการจัดป้ายนิเทศ
_________การกระตุ้นความสนใจ
_________การมีส่วนร่วม
_________การตรึงความสนใจ
_________ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
_________การเน้น
_________การใช้สี
4.2 เทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
_________ชื่อเรื่อง จะต้องสั้น อ่านง่าย เด่นชัด สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลดึงดูดความสนใจได้ทันที
_________ข้อความเชิญชวนหรือคำอธิบาย ควรมีลักษณะกระทัดรัด สั้นอ่านง่ายได้ใจความชัดเจน จัดช่องไฟได้เหมาะสม
_________การสร้างมิติเพื่อการรับรู้
_________การใช้สี แสง เงา
_________การเคลื่อนไหว
_________การใช้รูปภาพ
_________การจัดองค์ประกอบ
_________การตกแต่งพื้นป้ายนิเทศ
_________การจัดป้ายนิเทศร่วมกับสื่ออื่นจะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหาสมบูรณ์และน่าสนใจยิ่งขึ้น
_________การใช้เนื้อหาหรือกิจกรรมเป็นตัวกำหนด

การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
1.1 การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ ภาพแบบหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ (window) เป็นการจัดเพื่อเน้นรายละเอียดด้วยรูปภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว
1.2 การจัดภาพแบบละครสัตว์ การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus) เป็นการจัดภาพที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆ
1.3 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (axial) เป็นการจัดภาพที่มีรูปภาพอยู่ตรงกลางและมีคำอธิบายกำกับทั้งด้านซ้ายและด้านขวาหรือโดยรอบ
1.4 การจัดภาพแบบกรอบภาพ การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame) เป็นการจัดโดยนำภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวางเรียงต่อเนื่องกันล้อมรอบเนื้อหาข้อความ 1.5 การจัดภาพแบบตาราง การจัดภาพแบบตาราง (grid) เป็นการจัดภาพไว้ในตารางซึ่งอาจเว้นช่องใดช่องหนึ่งหรืออาจขยายภาพใดภาพหนึ่งเพื่อให้เกิดจังหวะระหว่างรูปภาพทำให้ดูแปลกตา
1.6 การจัดภาพแบบแถบ การจัดภาพแบบแถบ (band) เป็นการจัดรูปภาพและเนื้อหาที่เรียงตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ขั้นต้นถึงขั้นสุดท้าย แสดงให้เป็นลำดับขั้น1.7 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (path) เป็นการจัดให้รูปภาพหรือเหตุการณ์เรียงกันอย่างต่อเนื่องไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งซึ่งอาจคดเคี้ยวโค้งงอไปตามจังหวะที่สวยงาม

ลักษณะของบริเวณว่าง
......บริเวณว่างมี 2 ลักษณะได้แก่ บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์ (positive space) และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย (negative space)
1. การออกแบบบริเวณว่าง
1.1 การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง องค์ประกอบแนวตั้ง
1.2การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้ง องค์ประกอบระนาบแนวตั้ง มีลักษณะแผนกั้นเป็นฉากหลังของพื้นที่ระนาบแนวตั้ง (linear vertical plane) 1.3 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล (L) องค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล หรือระนาบมุมฉาก (L-shaped planes)
1.4 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน องค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน หรือระนาบคู่ขนาน (parallel planes)
1.5 การจัดองค์ประกอบระนาบรูปตัวยู องค์ประกอบระนาบรูปตัวยู (U) เป็นระนาบปิดล้อมสามด้าน (U-shaped planes)

การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยา
......การใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรมควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชม โดยเฉพาะลูกค้าใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรยึดหลักสำคัญคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใด ๆ ทุกชนิด.การกำหนดทางเดินชมนิทรรศการ1. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ด้านเดียว
2. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ 2 ด้าน
3. การสัญจรอย่างอิสระตามความต้องการ

บทที่ 7 สื่อในการจัดนิทรรศการ

สื่อในการจัดนิทรรศการ
องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมนิทรรศการ ได้รับการถ่ายทอดตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการคือ สื่อ ซึ่งได้แก่ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการใดๆก็ตามที่ทำหน้าที่เนตัวกลางหรือภาหนะในการสื่อความหมายถ่ายทอดความรู้ความเขาใจความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์จากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารซึ่งกันและกัน

ประเภทของสื่อในนิทรรศการ
สื่อที่นำมาใช้นิทรรศการสามารถจำแนกตามคุณสมบัติได้ 3 ประเภทได้แก่ สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ และสื่อกิจกรรม
1. สื่อวัสดุ (materials) ได้แก่สื่อขนากเล็กๆ มีน้ำหนักเบา บางทีเรียกว่า ซอฟท์แวร์ มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้ชมนิทรรศการเป็นอย่างมาก
2. สื่ออุปกรณ์ (equipments) ได้แก่ สื่อใหญ่หรือสื่อหนัก บางที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ เป็นสื่อประเภทเครื่องมืหรืออุปกรณ์ โดยส่วนประกอบเป็นเคื่องยนต์กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
3. สื่อกิจกรรม (activities) ได้แก่กระบวนการนำเสนอความรรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดหรือข้มูลต่างๆด้วยการกระทำเป็นขั้นเป็นตอนเน้นให้ผู้ชมนิทรรศการมีส่วนร่วมในการแสดงออกหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง

สื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือภาหนะในการสื่อความหมายจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่ง สื่อที่ใช้ในนิทรรศการมีหลานชนิด แต่ละชนิดมีศักยภาพในการสือความหมายและถ่ายทอดเนื้อหาสาระแตกต่างกัน สื่อวัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ แผ่นปลิ แผ่นพับ จุลสาร วารสาร ภาพโฆษณา แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ หุ่นจำลอง ของจริงและสื่อวัสดุอิเล็คทรอนิกส์
สื่อที่จำเป็นในการจัดนิทรรศการได้แก่ อุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียงและสื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย ส่วนสื่อกิจกรรมที่นิยมใช้ ได้แก่ การบรรยาย กานประชุมสัมมนา การสาธิต การแสดงบทบาทสมมุติ สถานการณ์จำลอง การเล่นเกม การแสดงและการละเล่น การจัดประกวด และการแข่งขันทักษะต่างๆ
การใช้สื่อในนิทรรศการควรเลือกให้เหมาะสมกับคุณลักษณะและองค์ประกอบของงานสื่อทุกประเภทควรตอบสนองวัตถุประสงค์ของการจัดงานและควรเนเอกภาพ