วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 5 ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ

ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างน้อย 4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง (media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage) และขั้นการประเมินผล (evaluation stage) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
.1.ขั้นการวางแผน

ทำอะไร หรือจะจัดกิจกรรมอะไร คณะผู้ดำเนินงานต้องระบุชื่อหรือประเภทของกิจกรรมนั้น ๆ ให้ชัดเจน เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดจุลนิทัศน์ การรณรงค์ การจัดมหกรรม การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ทำไปทำไม หรือจะจัดเพื่ออะไร เมื่อกำหนดว่าจะทำกิจกรรมอะไร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมนั้นเป็นสำคัญ เช่น การจัดจุลนิทัศน์แสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย การจัดนิทรรศการวันมาฆบูชาเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของไทย เป็นต้น
ทำที่ไหน สถานที่หรือบริเวณอยู่ที่ไหนห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การคมนาคมสะดวกมากน้อยเพียงใด
ทำเมื่อใด หรือกิจกรรมนั้นจะจัดขึ้นเมื่อใด อาจเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ วันเปิดอาคารใหม่ วันต้อนรับอาคันตุกะที่สำคัญ หรือจัดระหว่างวันเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ.
ทำเพื่อใคร หรือใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดนิทรรศการ มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ แทบทุกด้าน
ทำอย่างไรหรือจะจัดกิจกรรมอย่างไร เป็นคำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่ การลงมือปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้มีประสิทธิภาพทำได้อย่างไร
อกจากคำถามพื้นฐานสำคัญในการวางแผนทั่ว ๆ ไปดังกล่าว อาจวางแผนโดยยึดหลักการบริหาร
การวางแผนในการจัดนิทรรศการที่สำคัญได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับผู้ชม การวางแผนเกี่ยวกับเรื่องและเนื้อหา
เมื่อประมวลคำถามและแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าในขั้นการวางแผน ควรมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในเรื่องการตั้งวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรม สถานที่ เวลา งบประมาณ การออกแบบนิทรรศการ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและการประชาสัมพันธ์

1. การตั้งวัตถุประสงค์
- การจัดนิทรรศการเพื่อจำหน่ายสินค้า
- การจัดนิทรรศการเพื่อเปิดตัวและแนะนำสินค้า
- การจัดนิทรรศการทางการศึกษา
- การจัดนิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
2. กลุ่มเป้าหมาย
- เพศ
- วัย
- ระดับการศึกษา
- อาชีพ
- ความเชื่อ
- สภาพเศรษฐกิจ
- สถานภาพทางสังคม
3. เนื้อหาและกิจกรรม
- กลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชากา
- กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
- กลุ่มเป้าหมายเป็นชาวนา
- กลุ่มเป้าหมายเป็นนักธุรกิจ
4. ระยะเวลา
5. สถานที่
- ทำเลที่ตั้ง
-บริเวณขอบเขต
- งบประมาณ
- ค่าสถานที่
- ค่าไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์สำหรับแสงสว่างทั่วไป
- ค่าใช้จ่ายด้านโสตทัศนูปกรณ์
- ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสื่อในการจัดแสดง
- ค่าวัสดุประกอบการตกแต่งและติดตั้ง
- ค่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตและตกแต่ง
- ค่าจัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อมวลชนต่าง ๆ
- ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมประกอบทุกประเภท
- ค่าพาหนะขนส่งและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
- ค่าอาหาร น้ำดื่ม
- ค่าบริการทางด้านสาธารณูปโภค
- ค่าใช้จ่ายในฝ่ายพิธีการ
- ค่าใช้จ่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ปัญหา
- ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

6. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
- ฝ่ายควบคุมนิทรรศการ
- ฝ่ายศิลปกรรม
- ฝ่ายช่าง
- ฝ่ายวิชาการ
- ฝ่ายการเงิน
- ฝ่ายสถานที่
- ฝ่ายประชาสัมพันธ์
- ฝ่ายประเมินผล
- ฝ่ายพิธีการ
- ฝ่ายประสานงาน

.2. ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง

2.1 การออกแบบในงานนิทรรศการ การออกแบบเป็นหัวใจสำคัญในการจัดนิทรรศการ ช่วยให้งานดูโดดเด่นกระตุ้นความสนใจ
- การออกแบบโครงสร้าง ได้แก่โครงสร้างทางกายภาพของงานนิทรรศการทั้งหมด ซึ่งได้แก่โครงสร้างของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดงและสิ่งก่อสร้างต่างๆ
- การออกแบบตกแต่ง เป็นการออกแบบเพื่อทำให้งานนิทรรศการมีความโดดเด่น สวยงาม ดึงดูดความสนใจ และสื่อความหมายกับผู้ชม
- การออกแบบสื่อ 2 มิติ เป็นสื่อประเภทงานกราฟิกที่ใช้ในการเสนอเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้โดยตรง
- การออกแบบสื่อ 3 มิติเป็นการสร้างสรรค์สื่อที่มีทั้งความกว้างความยาวและความหนา
- การออกแบบสื่อประสมหรือสื่อมัลติมีเดีย ปัจจุบันการออกแบบและการนำเสนอผลงานทำได้สะดวกรวดเร็วโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
- การออกแบบสื่อกิจกรรม เป็นสื่อการแสดงที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือบุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และการนำเสนอ
2.2 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก เช่น อุปกรณ์หลักในการจัดสถานที่ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์เกี่ยวกับแสงเสียงและไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เพื่อการแสดงและตกแต่ง โสตทัศนวัสดุ
2.3 การลงมือติดตั้งสื่อต่าง ๆ เป็นขั้นจัดวางสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นไปตามผังที่ออกแบบไว้แล้ว การดำเนินงานในขั้นนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างเทคนิคด้านโสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
2.4 การควบคุมดูแลความปลอดภัย เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ชมได้รับอันตรายใด ๆ จากการเข้าชมนิทรรศการ

.3. ขั้นการนำเสนอ

ในขั้นนี้เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ โดยทั่วไปประกอบด้วย พิธีเปิดนิทรรศการ การนำชม ดำเนินกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นต้น
1.1 พิธีเปิดนิทรรศการ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมในพิธีเปิด คือ เครื่องขยายเสียงคุณภาพดี แท่นยืนสำหรับประธาน คำกล่าวรายงานของผู้รายงาน และคำกล่าวเปิดงานสำหรับประธานในพิธี หากเป็นไปได้คำกล่าวเปิดงานควรเสนอต่อประธานเพื่ออ่านก่อนถึงพิธีเปิดจะเป็นผลดียิ่ง
1.2 การนำชมและดำเนินกิจกรรม หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้นลง คณะผู้จัดนิทรรศการนำประธานและผู้เข้าชมเดินชมนิทรรศการตามจุดสำคัญ ๆ ของงาน แต่ละจุดมีพิธีกรบรรยายถ่ายทอดความรู้ที่จัดแสดง ตลอดจนให้คำแนะนำหรือตอบคำถามจากผู้ชม
1.3 การประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชมในการเข้าชมนิทรรศการด้วยสื่อหลายชนิด เช่น ป้ายผังรวมของงานหรือแผ่นปลิวบอกตำแหน่งที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน

.4. ขั้นการประเมินผล

การประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานแต่ละครั้ง
- 1.1 การประเมินภายในจากกลุ่มผู้จัด
- 1.2 การประเมินจากกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย.แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี
1. เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
2. เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่ง ๆ ควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหา ความรู้ ความคิด และองค์ประกอบทางกายภาพ
3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
4. ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงามเหมาะสมกับเนื้อหา
5. การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและสื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียมมานานกลายเป็นนิทรรศการ “ตาย”
8. สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภท
9. วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติสอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหา
10. สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม
11. สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่น
12. แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟ ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: